วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทำไมต้องโหวตโน? (๑)




ก่อนอื่นขอบอกว่าสาเหตุที่ต้องมานั่งพิมพ์บทความอันนี้นั้น เพราะมีคนอยู่อีกจำนวนไม่น้อยที่ยังคงเข้าใจความหมายของโหวตโนผิดๆ เนื่องด้วยมีสื่อฯห่วยๆออกมาบิดเบือนข้อมูลข้อเท็จจริง และยังจะมีพวกบรรดานักเลือกตั้งทั้งหลายออกมาอ้าปากเน่าๆว่าหาก
โหวตโน นั่นหมายถึงไม่ยอมรับในประชาธิปไตย (ใครกันแน่ฟ่ะ?)

เอาล่ะ..เข้าเรื่อง ข้อความทั้งหมดต่อไปนี้เป็นความเข้าใจของเราเอง โดยผ่านการอ่านข้อมูลต่างๆและเป็นข้อเท็จจริงที่สื่อฯสั่วๆมันไม่นำเสนอกันหรอก และเราจะใช้คำที่มันเข้าใจง่ายๆ (จริงๆใช้คำเป็นทางการไม่เป็น)

ก่อนอื่นต้องมาเข้าใจกันก่อนว่าการ “โหวตโน” และ “โนโหวต” ต่างกันยังไง?

ตามข้อมูลที่มีอยู่ในสมองที่ไม่ได้อัจฉริยะอะไรมากมายนัก แต่เรื่องนี้มันก็ไม่ได้ยากจนมีแค่พวกมันสมองระดับป.เอกเท่านั้นที่จะเข้าใจได้ “โหวตโน” นั้นหมายถึงว่า คุณออกไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งตามกฏหมายที่ระบุไว้ และเมื่อตรวจสอบรายชื่อ เซ็นต์ชื่อเป็นหลักฐาน รับใบลงคะแนนมาสองใบ เดินเข้าไปในคูหาที่เขียวๆบังไว้ เปิดแผ่นลงคะแนนขึ้นมา มองหาปากกาแล้วจับให้มั่น จากนั้นก็ทำเครื่องหมายกากบาท..ย้ำว่า “เครื่องหมายกากบาท [X]” ในช่องล่างสุดที่เขียนว่า “ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้พรรคใด (หรือบุคคลใด) จากนั้นก็พับเก็บเหมือนเดิม แล้วเดินออกมาหย่อนบัตรลงหีบใสๆที่มีนาฬิกาวางไว้เพื่อบอกเวลาปิดหีบ เพียงแค่นี้ก็เสร็จสิ้นกระบวนการของการ”โหวตโน”

ส่วน ”โนโหวต” นั้นหมายถึงว่า คุณนั่งๆนอนๆอยู่บ้านในวันเลือกตั้งจนเลยเวลาที่กำหนด (บ่ายสามโมงเป๊ะคือเวลาปิดหีบ) หรือออกไปเที่ยวเล่นที่อื่นที่ไม่ใช่เขตการเลือกตั้งที่มีรายชื่อคุณอยู่ในจำนวนของคนที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง หรือที่หลายๆคนรู้จักในประโยคที่ว่า “นอนหลับทับสิทธิ์” ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะส่งผลทางด้านสิทธิในทางกฏหมายทันที นั่นคือ หากคุณไม่ไปเลือกตั้งตามที่กฏหมายระบุไว้ คุณจะหมดสิทธิ์ในการยื่นรายชื่อถอดถอนนายกฯ,คณะรัฐมนตรี,สมาชิกวุฒิสภา,ประธานและรองฯรัฐสภา (ยกที่เด่นๆ) หรือจู่ๆคุณถูกทาบทามให้มาเล่นการเมือง คุณก็จะไม่มีสิทธิ์ลงรับสมัครเลือกตั้งตำแหน่งสส.,สว, หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการเมือง ผลของการถูกแบนนี้จะมีระยะเวลา 5 ปีไม่มีขาดไม่มีเกิน

อธิบายซะยืดยาวแบบนี้เพราะกลัวว่าจะไม่เข้าใจกัน อย่างที่บอกว่าสื่อฯเฮงซวยมันบิดเบือนข้อมูลให้ประชาชนเห็นว่าการโหวตโนนั้นเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ซึ่งก็อยากจะถามกลับไปเหมือนกันว่า ถ้ามันเป็นสิ่งที่ผิด แล้วกกต.จะใส่ช่อง ”ไม่ประสงค์จะลงคะแนน...” ไว้ทำบรรพบุรุษพ่อแม่พี่น้องที่เคารพทำไม?

ยัง...มันยังไม่หมด เพราะยังมีอีกจำพวกที่มันจะบอกว่า “โหวตโน โนโหวต ก็เหมือนกันนั่นแหละ” จากที่อธิบายมายืดยาว อยากถามว่า “มันมีตรงไหนเหมือนกัน?” อยากจะบอกว่าที่ได้ยินมาเนี่ยเป็นคนในวงการบันเทิงด้วยคนหนึ่ง (ไม่ขอเอ่ยนาม ได้ยินทางวิทยุที่เขารณรงค์เลือกตั้งกัน) ไม่น่าเชื่อว่าจะแยกความแตกต่างของสองอย่างนี้ไม่ออก..เพลีย

บทสรุปความแตกต่างของ”โหวตโน” และ “โนโหวต” คือ “โหวตโน” ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งและกาที่ช่องล่างสุด “ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้กับพรรคใด(หรือบุคคลใด) ส่วน ”โนโหวต” คือการที่ไม่ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ...จบนะ เข้าใจกันแล้วนะ (มันไม่ได้ยากเลยนะจริงๆ..ให้ตาย!!!)

(แค่นี้ก่อน...ง่วง!!!)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น